วัสดุและโครงสร้างภายในของกระดาน

จากกระดานยุคเก่า สู่กระดานไร้ฝุ่นล้ำสมัย

 

โครงสร้างกระดานยุค 5G

กระดานที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
ด้วยการออกแบบเลเยอร์ต่าง ๆ ของเนื้อกระดานอย่างพิถีพิถัน
พัฒนากระดานจากยุคแรกเริ่ม สู่กระดานยุค 5G

โครงสร้างวัสดุเนื้อกระดานไวท์บอร์ดในแต่ละยุคสมัย

The 1st Generation of Whiteboard Structure

หากไม่นับการใช้ไม้กระดานแบบแผ่นทาสีสำหรับการเขียนด้วยชอล์กฝุ่นแล้ว กระดานไวท์บอร์ดยุคแรกเริ่มเป็นเพียงแผ่นกระดานโฟเมก้า (Formeca) ธรรมดาที่ใช้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์เท่านั้น แต่ผิวหน้าของโฟเมก้านั้นมีคุณสมบัติเรียบลื่น ผิวมันเงา ผู้ใช้งานกระดานในช่วงนั้นจึงนำมาใช้เป็นกระดานสำหรับเขียน เพราะเมื่อใช้น้ำหมึกแบบมีตัวทำละลายเป็นแอลกอฮอล์ (Alcohol-based Ink) เขียนลงไปบนพื้นผิวของกระดานโฟเมก้าแล้ว หมึกสามารถเช็ดออกได้ง่าย 

แต่อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติเรียบลื่น ผิวมันเงานั้น ต้องแลกมาด้วยแสงสะท้อนรบกวนบนผิวกระดาน เป็นอุปสรรคต่อการมองในห้องจากมุมต่าง ๆ กัน อีกทั้งเมื่อใช้งานกระดานประเภทนี้ไประยะเวลาหนึ่ง ตัวทำละลายในน้ำหมึกชนิดที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น จะทำละลายผิวหน้าของกระดานโฟเมก้าด้วย ทำให้สารเคลือบผิวบนกระดานโฟเมก้าค่อย ๆ หายไป น้ำหมึกจึงเริ่มซึมลงในเนื้อกระดานมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้กระดานทำความสะอาดยาก มีคราบปากกา และทำให้กระดานเหลืองได้ง่าย

The 2nd Generation of Whiteboard Structure

กระดานที่พัฒนาขึ้นในยุคต่อมา จึงนำแผ่นเหล็กเคลือบสีหรือวัสดุที่เคลือบด้วยเซรามิกมาใช้งาน เนื่องจากมีผิวที่เรียบมันแต่สามารถลดแสงสะท้อนได้บ้าง จึงสามารถแก้ไขปัญหาเงาสะท้อนได้ แต่เนื่องจากวัสดุที่เป็นแผ่นเหล็กหรือวัสดุเคลือบเซรามิกเหล่านั้นมีน้ำหนักมาก จึงต้องใช้แผ่นเหล็กอย่างบางที่สุด และใช้วัสดุภายในเป็นแผ่นโฟม และประกบด้วยแผ่นโลหะทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อความแข็งแรงให้เนื้อกระดาน แต่โฟมที่เป็นวัสดุภายในนั้นมีความอ่อนและเปราะบาง อีกทั้งผิวหน้าที่เป็นแผ่นเหล็กยังมีความหนาไม่เพียงพอ เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจึงมักพบรอยที่เกิดจากแรงกด เป็นรอยหลุมหรือลักยิ้มทั่วทั้งแผ่นกระดาน อันเนื่องมาจากการได้รับแรงกระแทกจากปากกา มือ และสิ่งแวดล้อมในห้องที่ไม่สม่ำเสมอกัน
 

The 3rd Generation of Whiteboard Structure

กระดานในรุ่นต่อมา มีการพัฒนาฟิล์มผิวหน้าที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่สามารถลดแสงสะท้อนได้มาก และทำความสะอาดง่าย ไม่โดนสารเคมีจากปากกาทำลายผิวหน้าได้โดยง่าย ลามิเนตลงบนวัสดุแกนกลางที่เป็นแผ่นเยื่อไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง หรือแผ่นไม้ MDF (Medium-density Fiberboard) ซึ่งมีความแข็งแรงในตัวเอง ไม่จำเป็นต้องประกบขึ้นรูปด้วยแผ่นเหล็กอีกชั้นหนึ่ง มีน้ำหนักเบา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ลบล้างข้อเสียเกี่ยวกับผิวหน้าของกระดานที่พบในกระดานทั้งสองรุ่นก่อนหน้านี้ได้อย่างสิ้นเชิง ทำให้กระดานที่มีโครงสร้างแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม กระดานที่มีโครงสร้างภายในเป็นไม้ MDF นั้น ยังไม่สามารถทนต่อความชื้นได้มากนัก จึงต้องมีการเคลือบแผ่นฟิล์ม PVC ป้องกันความชื้นทับอีกชั้นหนึ่งเสมอ ซึ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

The 4th Generation of Whiteboard Structure

กระดานในยุค 4G หรือเจเนอเรชั่นที่สี่นั้น ได้พัฒนารูปแบบการประกอบกระดานมากขึ้น โดยใช้แผ่นเหล็กบางมารองใต้ผิวหน้าของฟิล์ม PVC สำหรับเขียนด้านบน ทำให้สามารถใช้หมุดแม่เหล็กติดลงไปบนกระดานได้ด้วย ด้วยความแข็งแรงของวัสดุภายในที่เป็นแผ่นไม้ ทำให้กระดานในยุคนี้ไม่เป็นรอยบุบได้ง่าย อีกทั้งยังมีการพัฒนามาใช้วัสดุเป็นแบบแผ่นเยื่อไม้อัดความหนาแน่นปานกลางที่สามารถทำความชื้นได้สูง หรือแผ่นไม้ HMR (High Moisture Resistance MDF) จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องเคลือบแผ่นฟิล์มทับอีกครั้งเพื่อป้องกันความชื้นอีกต่อไป

The 5th Generation of Whiteboard Structure

กระดานยุค 5G นั้น ได้พัฒนาต่อยอดให้ทันสมัยกว่าเดิม ด้วยการผสมผสานชั้นผิวหน้ากับแผ่นเหล็กรองเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีการพัฒนาให้แผ่นฟิล์มสำหรับเขียนที่จะทำมาลามิเนตนั้น มีคุณสมบัติดึงดูดแม่เหล็กได้ในตัว ด้วยการผสมส่วนประกอบที่เป็นโลหะลงไปในเนื้อฟิล์ม ดังนั้นจึงสามารถนำฟิล์มนั้นมาลามิเนตบนแผ่นไม้ได้โดยตรง จึงมีความแข็งแรงมากกว่าเดิม นอกเหนือไปกว่านั้น ยังสามารถนำฟิล์มชนิดนี้ไปติดตั้งบนผนังลักษณะเดียวกันกับวอลล์เปเปอร์ได้ โดยจะสามารถสร้างห้องที่มีผนังทุกด้านสามารถเขียน ฉายภาพ และติดแม่เหล็กได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นของวงการกระดานไวท์บอร์ดไทย

ารประกอบโครงสร้างภายในเนื้อกระดานซี.เอส.อาร์.

กระดานไวท์บอร์ดที่ประกอบโดยซี.เอส.อาร์.ทุกแผ่น ได้ผ่านกระบวนการผลิตและตรวจสอบวัสดุ

และมีการประกอบอย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้กระดานที่มีคุณภาพ ตั้งแต่วัสดุโครงสร้างหลัก

ของแผ่นกระดาน เนื้อกระดาน จนถึงกรอบนอก เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้กระดานอย่างยาวนานและคุ้มค่าที่สุด

 

CSR ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ไม่กำกวม 

CSR มีสินค้าจำหน่ายทั้งแบบ แผ่นพื้นกระดานที่มีสถานะแม่เหล็กจริง และแผ่นเหล็กในรูปแบบต่างๆ 

CSR มีความจริงใจ ในการเปิดเผย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานและวัสดุที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา 

เป็นต้นว่า กระดานเหล็ก ใช้แผ่นเหล็ก หรือผสมผงเหล็ก ลงไปในวัสดุทำแผ่นพื้นนั้น

แล้วเอาแม่เหล็กไปดูดติด ซึ่งเป็นการเอา "แม่เหล็กไปติดที่กระดานเหล็ก จึงดูดติด" นี่คือข้อเท็จจริง



ผู้ขายกระดานหลายแห่ง ที่ลงโฆษณาว่าเป็น กระดาน "แม่เหล็ก" ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เป็น "เท็จ" 

ที่สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยตัวผู้ใช้ โดยเอาชิ้นส่วนของเหล็ก เช่น ใบมีดคัดเตอร์ ที่เสียบกระดาษ เข็มหมุด 

ไปแตะที่กระดาน จะพบว่า มันจะไม่ติดกระดาน ซึ่งหากเป็นแม่เหล็กจริง ก็ต้องดูดเหล็กเหล่านี้ได้ 

แล้วกระดานที่ซื้อมา ติด เข็มหมุด ชิ้นเหล็ก หรือสิ่งของที่เป็นเหล็ก เหล่านั้นได้จริงหรือไม่ ?


ธรรมชาติ-คุณสมบัติของแม่เหล็ก ต้องดูดเหล็ก


 CSR มีสินค้าจำหน่ายทั้งแบบ แผ่นพื้นกระดานที่มีสถานะ "แม่เหล็ก" จริง และแผ่นเหล็กในรูปแบบต่างๆ 

อย่างมากมายหลากหลาย ให้ท่านได้ตัดสินใจเลือกใช้ 


เหตุที่ไม่นิยมทำตัวแผ่นกระดานเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากวัสดุติดกระดานในท้องตลาด จะติดแม่เหล็กไว้ 

มันจะเกิดแรงพลัก ระหว่างแม่เหล็ก กับ แม่เหล็ก 


กระดานที่มีเกลื่อนในท้องตลาด จึงเป็น "กระดานเหล็กธรรมดา ไม่ใช่กระดานที่มีคุณลักษณะเป็นแม่เหล็ก" 

กว่าจะรู้ความจริงก็เสียเงินงบประมาณจำนวนมาก ให้กับ "กระดานเหล็ก" ในชื่อ "แม่เหล็ก" ไปแล้ว ใช่หรือไม่ ?  

 



 

โครงสร้างกรอบ


Visitors: 272,183